บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

เครื่องทรงพระ ( งานที่กำลังทำครับ )

รูปภาพ
เครื่องทรงพระ + ฐานพระเงิน  ( งานที่กำลังทำครับ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน)  งานนี้มีผู้มาร่วมหลายคนครับ เป็นงานทดสอบความสามารถช่างครับ  เริ่มจากหลอม  เทลงราง  รอเย็น  นำมารีดเป็นแผ่นให้ได้ความหนา แล้วเริ่มลงลายครับ  ค่อยๆทำทีละชิ้น แล้วลองประกอบเทียบกับองค์พระจำลองดูครับ  งานแล้วเสร็จเมื่อไหร่จะนำมาเสนอกันต่อนะครับ

Buddhas Relic Silver Casket : ผอบเงินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หนัก 85 บาท

รูปภาพ
Buddhas Relic Silver Casket :  ผอบเงินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หนัก 85 บาท  ในที่สุด ผอบเงินก็แล้วเสร็จ ทางเราได้นำไปถวายกับพระอาจารย์ท่านถึงที่แล้วครับ ผอบใบนี้ใช้เวลาตั้งแต่หลอม ตีขึ้นรูป แก้ไข ลงลาย ทั้งสิ้น 4 เดือนครับ.. และงานนี้ทุกฝ่ายที่ช่วยกัน ทำเป็น พุทธบูชา นะครับ  ดูใกล้ๆกันสักนิดครับ  ถวายให้ท่านถึงวัดเลยครับ พระอาจารย์ใช้ผ้าจับ พิจารณาดูผลงานครับ

copper bowl สลุงทองแดงหนัก 40 บาท

รูปภาพ
copper bowl สลุงทองแดงหนัก 40 บาท ( ฝีมือช่างอีกท่านครับ )  รอยค้อนของแต่ละช่างแตกต่างกัน เหมือนรอยพู่กันศิลปินที่ต่างกันครับ ลักษณะของทรงงานก็จะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยครับ

Silver Bowl : ขันน้ำทำจากเงินบริสุทธิ์ หนัก 20 บาท

รูปภาพ
Silver Bowl : ขันน้ำทำจากเงินบริสุทธิ์  น้ำหนัก  20 บาท ขันใบนี้เจ้าของต้องการขนาดเล็กปานกลางครับ นี้คือสภาพขึ้นรูปก่อนเคาะขึ้นเงาครับ  อาจารย์กำลังเคาะขึ้นเงาครับ  สำเร็จอีกใบรอส่งลงลายครับ มาชมรอยค้อนใกล้ๆครับ

Buddhas Relic Silver Casket : ผอบเงินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

รูปภาพ
Buddhas Relic Silver Casket ผอบเงินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ผอบพร้อมฝาชุดนี้ ทางช่างเราไม่คิดค่าแรงทำถวายเป็นพุทธบูชา  เพราะจะนำไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วนำบรรจุในเจดีย์ ที่ วัดเกาะดอนเลี้ยว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี  ขอให้เพื่อนๆร่วมกันอนุโมทนานะครับ) เมื่อผ่านขั้นตอนการตีขึ้นรูปก็มาขั้นตอนการลงลวดลายครับ เมื่อเดินลายเส้นเสร็จก็มาเริ่มการบุดุนลาย  เสร็จแล้วก็เทชันเพื่อจะมาทำขั้นตอนการลงรายละเอียดของลาย  อุปกรณ์แบบโบราณที่ใช้เรียกว่าค้อนเขา ครับ  การลงลายระเอียดค่อนข้างใช้เวลามากสำหรับลวดลายที่มีความละเอียดมากครับ ไว้เมื่อเสร็จครบทั้งตัวผอบและฝาจะนำรูปมาให้ชมกันอีกนะครับ

Silver Bowl : ขันเงินทรงมะนาวผ่า หนัก 40 บาท

รูปภาพ
Silver Bowl  ขันเงินทรงมะนาวผ่า หนัก 40 บาท ขั้นตอนการหลอมเม็ดเงินในเตาหลอม เมื่อหลอมได้ที่ก็เทลงเบ้าต่อไป นำก้อนเงินที่ได้นำมาตีแผ่ออก ทำตามกระบวนการการยกขึ้นรูปชิ้นงานทีละขั้นๆ จะค่อยๆได้รูปทรงตามต้องการครับ เมื่อได้ขนาดและรูปทรงสุดท้ายก็เป็นการตีขึ้นเงา ก่อนนำส่งให้ช่างลงลวดลายต่อไปครับ แต่หากลูกค้าสั่งลายพิเศษก็อาจลงลายเองครับ

Special order Metal bowl made of ternary alloy (copper, silver and brass) : ขันน้ำ 3 กษัตริย์

รูปภาพ
Special order Metal bowl made of ternary alloy  (copper, silver and brass) ขันน้ำโลหะ 3 กษัตริย์(เงิน,ทองแดง,ทองเหลือง) ขันน้ำ ทำจากโลหะ 3 กษัตริย์  ประกอบไปด้วย เงิน ทองเหลือง และทองแดง นำมาหลอมรวมกัน และตีขึ้นรูป ช่างกำลังตีขึ้นเงา  เมื่อขึ้นเงาเรียบร้อย นำมาตกแต่ง ลบคม เพื่อความเนียนของเนื้องาน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะได้ขันน้ำ ที่มีสีสันของเนื้อโลหะที่สวยงาม

picture frame from aluminium : กรอบรูป

รูปภาพ
picture frame from aluminium กรอบรูป (งานบุดุนลงลาย) ชิ้นงานที่พึ่งตีลายเสร็จ กำลังจะนำออกไปใส่กรอบกระจกครับ   ตัวอย่างงานตีขึ้นรูปจากอลูมิเนียม

copper bowl with Pedestal : ขันน้ำพานรองทองแดง

รูปภาพ
copper bowl with Pedestal ขันน้ำพานรองทองแดงชุด 100 (น้ำหนัก 100 บาท ) ในชุดขันน้ำพานรองของทางช่างล้านนานั้น เราแยกชุดขั่นน้ำ กับ ชุดพานรอง แบ่งน้ำหนักเท่ากันครับ คือชุด 100 จะเป็น ขันน้ำหนัก 50 บาท และ พานรองหนัก 50 บาท ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการหลอมและตีขึ้นรูปเป็นขันน้ำ(ในรูปหนัก 50 บาทครับ ) ขั้นตอนของการขึ้นเงาขันน้ำก่อนส่งไปลงลายครับ พานรองแบบโบราณ มีทั้งหมด 4 ชิ้น ( ตัวพาน,ตีน,ตุ้ม,เอว ) ประกอบขึ้นเป็นพานรอง ทุกชิ้นใช้วิธีหลอมและตีขึ้นรูปไม่ได้ใช้วิธีการเชื่อมแผ่นตามสมัยนิยม      เมื่อตีทั้ง 2 ชุดเสร็จนำมาประกอบกันเป็น ชุดขันน้ำพานรอง  ตัวขันนั้นเราสามารถส่งให้ช่างลงลายต่างๆ เช่นใบนี้เป็นลายนกเครือเถา ส่วนพานรองก็สามารถลงลายตามต้องการครับ